สิบภูกระดึง ไม่เท่าหนึ่งภูคิ้ง 5-7 ธันวาคม 2552 ภาคแรก

เมื่อวันที่ 5-7 ธํนวาคม 2552 ผมได้เดินทางร่วมกับเพื่อน เพื่อไปขึ้นภูคิ้ง ยอดภูที่สูงที่สุดในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ ซึ่งภูคิ้งนี้จะอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขตฯ พวกเราออกเดินทางจาก จ.นครสวรรค์ในเวลาเช้า มาถึง บ้านบุ่งสิบสี่ ต.โนนทอง อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ ซึ่งเป็นจุดที่ใกล้กับทางขึ้นภูคิ้ง หลังจากรับประทานอาหารเรียบร้อยแล้ว พวกเราก็โดยสารรถอีแต๊ก ต่อไปยังตีนภู ดังภาพที่เห็นครับ

 Picture 001

เพื่อนขาประจำของผม ไอ้จ๊อก

Picture 002 Picture 003 Picture 004 Picture 005 Picture 006 Picture 007

บรรยากาศขณะนั่งรถอีกแต๊ก(หรืออีแต๋น) เข้าไปที่ตีนภู ต้องผ่านทางลูกรัง ป่าอ้อย และทุ่งนา บรรยากาศดี อากาศไม่ร้อนมากครับ

Picture 008 Picture 009

เมื่อมาถึง จุดสกัด ของอนุรักษ์ พวกเราก็ต้องลงชื่อก่อนเดินขึ้น บริเวณด้านข้าง มีป้ายแผนที่ บอกว่าเดิน 2.9 กม. เราก็คิดกันว่า เอ! มันจะใกล้ขนาดนั้นเชียวหรือ เพื่อนบอกมาว่าเดิน 4 ชม.นะ เดี๋ยวต้องพิสูจน์

Picture 010 Picture 011 Picture 012 Picture 013 Picture 014 Picture 016Picture 015

พวกเราเดินโดยมีลุงสุวรรณ พรานเก่า อายุเกือบ 60 ปี กับหลานของลุงชื่อ สายันห์ เป็นคนนำทาง เราเริ่มออกเดินทางตั้งแต่ บ่าย 2 ระหว่างทางช่วงแรก ๆ ก็ถ่ายภาพเป็นระยะ ๆ แต่ไม่นาน ก็เริ่มแย่ ถ่ายรูปไม่ไหว ต้องเก็บกล้องลงกระเป๋า เพราะทางเดินค่อย ๆ ชันขึ้นเรื่อย ๆ แล้วก็เป็นทางชันโดยตลอด ไม่มีที่ราบให้เดินพักสบาย ๆ เลย ระหว่างทางต้องเดินฝ่าป่าหญ้า ป่าหนามหลายแห่ง ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการเดินป่าแบบแท้ ๆ เลยทีเดียว ลุงนำพวกเราออกนอกทางปกติ เพราะแกบอกว่า ถ้าไปตามทางที่ป่าไม้ทำไว้ จะทำให้ถึงช้า ไม่ทันพระอาทิตย์ตกดิน แล้วพวกเราจะต้องนอนพักค้างคืนกลางป่า เมื่อได้ยินแบบนั้น พวกเราก็เลยต้องตามแกไป ซึ่งทางขึ้นเขาก็ชัน ของที่แบกมาก็หนักพอสมควร เพราะคราวนี้แบกเองทั้งหมด จ้างแกให้นำทางอย่างเดียว ไม่ได้ให้แบกของให้ด้วย แกคิดคนละ 500 บาท หลังจากผ่านป่าแล้ว พวกเราเดินถึงยอดภู ก็พอดีกับพระอาทิตย์ตกดิน เรายังต้องเดินผ่านทุ่งหญ้าเพื่อไปหาจุดพักแรมที่ยอดภูคิ้ง ซึ่งห่างจากจากที่เรามาถึงขอบผา ประมาณ 1 กม.

เนื่องจากว่า ลุงแกบอกว่าข้างบนมีลำธาร มีน้ำตลอดปี ไม่ต้องหิ้วน้ำไปให้หนัก พวกเราจึงถือน้ำแค่พอกินระหว่างทางคนละขวดเล็ก แต่ผลปรากฏว่า บริเวณยอดภูคิ้ง ที่เราไปกางเต๊นท์นอนนั้น เป็นจุดสูงสุดของภู จึงไม่มีลำธาร ลำธารต้องเดินออกไปอีก 1 กม. ทำให้พวกเราเหลือน้ำเพียง 1 ลิตร ซึ่งอยู่ในถุงของน้าสายันต์ คืนนั้น จึงต้องกินเสบียงเก่า ซึ่งโชคดีมากที่แตรียมมา คือ ข้าวเหนียวกับ หมูทอด โดยเอาข้าวเหนียวมาปั้น ๆ เสียบไม้ แล้วปิ้งไฟ ภาษาอีสานเรียก “ข้าวจี่” ก็ได้รสชาดไปอีกแบบ กรอบนอกนุ่มใน ร้อน ๆ อร่อยดี คืนนี้ก็หลับแบบไม่มีคำบ่น เพราะเหนื่อยกันมาก แม้ว่าน้ำก็ไม่ได้อาบ แถมที่กางเต๊นท์ ก็เป็นพื้นหินสูง ๆ ต่ำ ๆ ไม่ค่อยสบายเท่าไร

Picture 040

จนเช้ามืด พวกเราก็ตื่น เพื่อมาถ่ายรูปพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า แต่เช้านี้อากาศไม่ค่อยเป็นใจ ท้องฟ้ามีเมฆมาก แต่ก็ได้ภาพเมฆสวย ๆ กับภาพเงาตัดกับท้องฟ้า

 Picture 017 Picture 018 Picture 019 Picture 020 Picture 021 Picture 022 Picture 023 Picture 024 Picture 025 Picture 026 Picture 027 Picture 028

เมื่อคืนได้กินยอด ของเจ้าต้นนี้ด้วย บ้านนี้เค้าเรียก “ผักเม็ก” มีสรรพคุณทางยา แก้ทองเสียด้วย ยอดอ่อนสีแดงสด สวยงามมาก แล้วก็มีขึ้นเต็มยอดภูไปหมดทีเดียว

Picture 029 Picture 030 Picture 031

จุดที่เรากางเต๊นท์เมื่อคืน เป็นบริเวณข้างก้อนหินใหญ่ ทำให้ลมปะทะไม่แรงนัก ช่วยลดความหนาวได้เยอะทีเดียว น้ำ 1 ลิตรที่มี พวกเราก็นำมาใช้ต้มน้ำร้อนชงกาแฟสำหรับเช้านี้ก็หมดพอดี

Picture 032 Picture 033 Picture 034 Picture 035 Picture 036 Picture 037 Picture 038 Picture 039

พอสายนิดนึง พวกเราก็เก็บเต๊นท์ เพื่อจะเดินทางต่อไปยังแคมป์อนุรักษ์ และหาแหล่งน้ำในการประกอบอาหาร พวกเราต้องเดินผ่านทุ่งหญ้า ที่พวกเราผ่านมาเมื่อคืน แต่เมื่อมันเป็นกลางวัน มันก็ดูง่าย และเหนื่อยน้อยกว่า เมื่อเดินมาสักพัก จ๊อก ลืมหยิบหมวกมาจากยอดภูคิ้ง จึงวิ่งกระหืดกระหอบไปเอาหมวก ก่อนที่จะวิ่งกลับมา

 Picture 041 Picture 042 Picture 043 Picture 044

เมื่อวาน ช่วงที่พวกเราเดินขึ้น พวกเราได้ยินเสียงกลุ่มคนที่เดินตามหลังมา ก็ยังคิดอยู่ว่า พวกนี้จะถึงกันกี่โมงกันนะ เพราะพวกเรายังถึงมืดเลย เช้านี้ได้เจอกัน พวกเขา กางเต๊นท์อยู่ใกล้กับทางขึ้นลง หนุ่มสาวพวกนี้ เล่าให้ฟังว่าพวกเขามาถึงกันเกือบ 4 ทุ่ม

Picture 045 Picture 046

ระหว่างทาง ลุงสุวรรณนำพวกเราไปดูร่องรอยขุดคุ้บระหว่างทาง ซึ่งลุงแกบอกว่าเป็นรอยของหมูป่า

Picture 047

สักพักหนึ่งพวกเราก็มาถึง “แหลหินเงิบ” ซึ่งเป็นเป้าหมายของผม ในการมาดูหม้อข้าวหม้อแกงลิง คำว่าแหล มีความหมายว่า ลาน เงิบ มีความหมายว่าเพิง ดังนั้น แหลหินเงิบ จึงมีความหมายว่า “ลานหินเพิง” ซึ่งมีหินเทินกันรูปร่างเหมือนเพิงพัก สามารถเข้าไปหลบฝนได้ในวันฝนตก

Picture 048 Picture 049 Picture 050

ต้นนี้เรียกว่า “ดอกนมสาว” แหม แหลมเปี๊ยบเชียว

Picture 051

บริเวณนี้ มีหน้าผาอยู่ใกล้ ๆ ทำให้พวกเราได้เห็นวิวทางพื้นล่าง ผมวัดระดับความสูงจาก จีพีเอส ได้ 1,100 ม. เหนือระดับน้ำทะเล นอกจากหม้อข้าวหม้อแกงลิงแล้ว ยังมีกล้วยไม้อิงอาศัยหินอีกหลายชนิดในบริเวณดังกล่าว พวกเรานั่งคุยกันสักพักเพื่อรับลมเย็น ๆ แล้วค่อยเดินสำรวจต่อไป

Picture 052 Picture 053 Picture 054 Picture 055 Picture 056 Picture 057 Picture 058 Picture 059 Picture 060 Picture 061 Picture 062

และแล้ว เราก็มาพบ หม้อข้าวหม้อแกงลิง ตามที่ผมต้องการ ส่วนคำว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิง ซึ่งภาษาถิ่นที่นี่เรียกกันว่า “บั้งเต้าแล่ง” บั้งมีความหมายว่า กระบอก เต้า คือ น้ำเต้า ส่วน แล่ง หมายถึงฤดูแล้ง แปลโดยรวมคือ “กระบอกน้ำเต้าที่มีน้ำแม้ในฤดูแล้ง”

Picture 063 Picture 064 Picture 065 Picture 066 Picture 067 Picture 068 Picture 069 Picture 070 Picture 071

ส่วนนี่คือ แหลหินเงิบ หรือหินเพิงพักดังกล่าว มีลักษณะเป็นหินรูปร่างแบน กว้าง วางทับบนหินก้อนเล็กอีกชุดหนึ่ง ทำให้มีรูปทรงเหมือนเพิงหมาแหงน ซึ่งคนสามารถแอบเข้าไปหลบฝนใต้เพิงได้ และยังสามารถขึ้นไปนั่งเล่นถ่ายรูปอย่างในภาพได้ด้วยเช่นเดียวกัน

Picture 081 Picture 099 Picture 100 Picture 102 Picture 105

นอกจากหม้อข้าวหม้อแกงลิงและกล้วยไม้อิงอาศัยหินแล้ว บริเวณดังกล่าวยังมีไม้กินแมลง จอกบ่อวาย ซึ่งเป็นพืชในสกุลหยาดน้ำค้างอีกด้วย

 Picture 107 Picture 108 Picture 110

และบริเวณทางเดิน เราได้พบกับกองขี้ช้าง ซึ่งแสดงให้พวกเราเห็นว่ามีช้างป่าผ่านทางมา เมื่อไม่นานมานี้

 Picture 109 

หลังจากนั้น พวกเราก็แวะที่ลำธาร ไม่ห่างจากแหลหินเงิบนัก เพื่อนำน้ำมาปรุงอาหาร โดยมื้อนี้อาหารเช้าผสมกับอาหารกลางวัน กินกันตอน 10 โมง คือมาม่าต้มใส่ปลากระป๋องนั่นเอง ระหว่างที่พวกเราต้มมาม่า พวกคนนำทางก็ตัดต้นลำเจียกเพื่อหาอะไรบางอย่าง ถามได้ความว่า หาแมลงชนิดหนึ่ง เรียกว่า “แมลงแคง” เป็นแมลงปีกแข็งมีกลิ่นคล้ายแมลงตด แต่อาศัยอยู่ในกอต้นลำเจียก ซึ่งชาวบ้านนิยมนำไปกิน แต่พวกเรากินไม่เป็น ก็เลยได้แค่ดูเฉย ๆ แล้วกินมาม่า

 Picture 118 Picture 119 Picture 120

ข้อความนี้ถูกเขียนใน ไม่มีหมวดหมู่ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น